การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะมีแสงสว่าง ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง เช่น ในถ้ำ ในห้องที่ปิดสนิท เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น มีแสง จึงมีเงา ในการวาดภาพจึงต้องมี หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้ เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย
ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา การฝึกใส่น้ำหนัก เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน โดยใช้ดินสอ ระดับ 2B - 4B ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม
ทิศทางแสง เงาบนวัตถุ
เงาตกทอด
ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ
(แสดงภาพวาดเส้นด้วยดินสอ แสดงให้เห็นการลงเส้นของน้ำหนักอ่อนเข้มและการเน้นน้ำหนักของภาพ)ในการวาดเส้นบางภาพ อาจไม่แสดงแสงเงาที่ชัดเจน คือ ไม่อิงกับเวลา เช้า เที่ยง บ่าย ซึ่งต้องแสดงเงาตกทอดตามกาลเวลา ซึ่งอาจเห็นได้จากแสงเงาต้นไม้ อาคาร แต่แสงเงาก็เกิดกับภาพได้ อันเนื่องมาจากวัตถุนั้น ๆ มีตื้นลึก ใกล้ ไกล เพื่อแสดงมิติขอวัตถุนั้น ๆ การใช้น้ำหนักอ่อน เข้มของการวาดเส้น จะให้ความรู้สึกของภาพได้ดี